10 เรื่องอะเมซิ่งเลือกตั้งอินโดนีเซีย

มหกรรมการเลือกตั้งในอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 17 เมษายน ที่เพิ่งผ่านไปนั้นนับเป็นการเลือกตั้งที่ สลับซับซ้อนมากที่สุดในโลกซึ่งเกิดขึ้นภายในวันเดียว เพราะ

1. เป็นการเลือกตั้งซึ่งผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องกาบัตรเลือกตั้งถึง 5 ใบ ใบที่หนึ่งสำหรับการเลือกประธานาธิบดีและ รองประธานาธิบดี ใบที่สองเลือกผู้แทนระดับประเทศหรือสส. ใบที่สามเลือกผู้แทนระดับจังหวัด ใบที่สี่และใบที่ห้า เลือกผู้แทนระดับท้องถิ่น

2. มีผู้สมัครรวมกันทั้งสิ้นเกือบ 250,000 คนเพื่อชิงตำแหน่งทั้งหมดที่มีมากกว่า 20,000 ตำแหน่ง

3. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดมีมากถึง 190 ล้านคน ในจำนวนนี้มี 2 ล้านคนลงคะแนนในต่างประเทศ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ละ คนจะต้องจำผู้สมัครที่ต้องการเลือกให้ได้ 250 ถึง 450 คน แล้วแต่เขตเลือกตั้งที่ผู้มีสิทธิอยู่ มิเช่นนั้นอาจจะเลือกผิดคนได้

4. มีหน่วยเลือกตั้งมากกว่า 800,000 หน่วยกระจายอยู่ใน 6,000 เกาะของทั้งประเทศมีอยู่ทั้งหมดมากกว่า 17,000 เกาะและใช้เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งมากถึง 6 ล้านคน

5. ใช้งบประมาณจัดการเลือกตั้งสูงเกือบ 60,000 ล้านบาท แต่ก็ยังถูกกว่าการจัดการเลือกตั้งในอดีตซึ่งเคยใช้งบประมาณ รวมกันสูงถึง 80,000 ล้านบาท เพราะแยกการเลือกตั้งเป็นสองครั้งคือเลือกตั้งผู้แทน 4 ระดับในเดือนเมษายน และการ เลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนสิงหาคม

6. เริ่มเปิดหีบลงคะแนนตั้งแต่ 07.00 น. และปิดหีบในเวลา 13.00 น. ตามเวลาในแต่ละท้องถิ่นซึ่งมีความแตกต่างกันถึง 3 ชั่วโมงระหว่างเมืองที่อยู่ทางทิศตะวันออกสุดไปถึงเมืองที่อยู่ทางทิศตะวันตกสุดของประเทศ

7. การนับคะแนน จะนับกันทั้งหมด 5 รอบ โดยรอบแรกนับกันที่หน่วยเลือกตั้ง หลังจากนั้นจะขนหีบบัตรมานับกันที่ หมู่บ้าน อำเภอ มณฑลและจังหวัด ก่อนจะประกาศผลอย่างเป็นทางการโดย KPU คณะกรรมการการจัดเลือกตั้งภายใน 30 วันหลังการลงคะแนน

8. Quick Count ทราบผลภายใน 1 ชั่วโมง : ในระหว่างการนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้ง KPU อนุญาตให้สถาบันวิชาการหรือวิจัยซึ่งต้อง มาลงทะเบียนไว้ล่วงหน้าให้เข้าไปร่วมนับคะแนนกับเจ้าหน้าที่ของ KPU ได้ สถาบันต่างๆเหล่านี้จะเลือกหน่วยเลือกตั้งที่ จะเข้าไปร่วมนับคะแนนตามหลักวิชาสถิติในจำนวนสองถึงสามพันหน่วย เมื่อได้คะแนนจากหน่วยเลือกตั้งเหล่านั้น สถาบันก็จะคำนวนคะแนนของผู้สมัครโดยใช้หลักวิชา คะแนนจากจากการ คำนวณของสถาบันเหล่านี้เรียกว่า Quick Count ซึ่งแตกต่างจาก Exit Poll คะแนน Quick Count ต่างๆจึงสามารถประกาศ ได้ภายใน 1 ชั่วโมงหลังหน่วยเลือกตั้งสุดท้ายปิดหีบลงหรือภายในราว 16.00 น.เวลาประเทศไทย ซึ่งในการเลือกตั้งวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา คะแนน Quick Count ของสองสถาบันที่เคยคำนวณได้ อย่างแม่นยำคือ Litbang Kompas และ CSIS – Cyrus Network ต่างประกาศคะแนน Quick Count ว่านายโจโควี่และทีม จะชนะนายพลปราโบโว่และทีมไปในคะแนน 55 เปอร์เซ็นต์ต่อ 45 เปอร์เซ็นต์

9. แม้คะแนนที่เป็นทางการจะประกาศผลภายใน 30 วันหลังการเลือกตั้ง แต่คะแนน Quick Count ของหลายสถาบันที่ ประกาศหลังปิดหีบมีความแม่นยำสูงมาก แตกต่างไปจากคะแนนทางการไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง หลายฝ่ายใน อินโดนีเซียจึงมั่นใจว่านายโจโควี่จะได้เป็นประธานาธิบดีต่ออีกเป็นสมัยที่สองอย่างแน่นอน

10. การจัดการเลือกตั้งในอินโดนีเซียมีการถ่วงดุลอำนาจหรือ Check and Balance อย่างดี โดย KPU หรือ กกต. มีหน้าที่ เพียงจัดการเลือกตั้งให้เรียบร้อยเท่านั้น หากเกิดข้อสงสัยเรื่องความโปร่งใสหรือเกิดความขัดแย้งระหว่างผู้สมัครกับ KPU จะมีคณะกรรมการสอดส่องดูแลการเลือกตั้งระดับชาติหรือ Bawaslu ทำหน้าที่วินิจฉัยและมีอำนาจสั่งการให้ KPU จัดการเลือกตั้งใหม่ ส่วนการให้ใบเหลืองใบแดงก็เป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ หากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ใบเหลือง ใบแดงไม่โปร่งใส KPK หรือ ปปช.ของอินโดนีเซียจะเป็นคนจัดการกับศาลรัฐธรรมนูญ และหาก KPK ทำงานไม่โปร่งใส สื่อมวลชนจะเป็นคนจัดการกับ KPK


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment