3 เหตุผล สงครามหุ้น GameStop ในโลกการเงินยุคดิจิทัล

จากปรากฏการณ์รายย่อยป่วนตลาดวอลตรีท เมื่อหุ้นร้านเกมใกล้หมดอนาคตในยุคดิจิทัลอย่าง GameStop ถูกปั่นราคาจนพุ่งขึ้นถึง 1,625% ในเดือนมกราคม และทำให้เฮดจ์ฟันด์ที่อยู่ฝั่งขายชอร์ตขาดทุนไปแล้วเกือบ 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

ดร. อริชัย รักธรรม​ อาจารย์​ NEO​ Academy​ หลักสูตร​ ​Mini MBA: Digital Business Management และ​ อาจารย์พิเศษภาควิชาการเงิน วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แสดงทัศนะถึงปรากฏการณ์ในครั้งนี้ว่า เกิดจากหลายปัจจัยประกอบกัน ซึ่งหากย้อนไป 10 ปีก่อนไม่มีทางเป็นไปได้ โลกยุคดิจิทัลได้แสดงพลังอีกมุมหนึ่งที่อาจจะเป็นหายนะย้อนกลับมายังผู้เล่นในตลาดก็เป็นได้

รายย่อย VS พรีเมียร์ลีก

ปรากฏการณ์ครั้งนี้รายย่อยอย่างเดียวไม่สาม ารถลากขึ้นไปได้ น่าจะมีกองทุนสถาบันอื่นมาร่วมด้วยเป็นขบวนการ เพราะตลาดหุ้นสหรัฐเป็นตลาดที่ใหญ่มาก กูรูในตลาดหุ้นสหรัฐต่างไม่เชื่อว่าด้วยปริมาณการซื้อขายมหาศาลขนาดนี้จะเป็นแรงซื้อจากรายย่อยเพียงอย่างเดียว นักลงทุนรายย่อยเปรียบเสมือนนักเตะท้องถิ่นที่ไม่มีทางสู้นักเตะระดับพรีเมียร์ลีกได้ เมื่อนักลงทุนสถาบันสบโอกาสการทำกำไรไล่ราคาตาม หรืออาจเห็นช่องทางร่วมวงแก้แค้นเฮดจ์ฟันด์ที่ตกเป็นเป้า จึงเทเงินเข้ามาร่วมวง แต่อย่าลืมว่ากองทุนสถาบันมีความรู้และประสบการณ์มากกว่า เมื่อถึงเวลาทำกำไร กองทุนเหล่านี้ย่อมรู้จังหวะออกก่อน ปล่อยให้รายย่อยที่ยังตกเป็นผู้บาดเจ็บในที่สุด

ตัวอย่างบัตรรับเงินช่วยเหลือผลกระทบโควิด-19 ของสหรัฐอเมริกา

ถือเงินแห่กันเข้าไปในโลก Reddit

ช่วงเวลานี้ เงินกำลังสะพัดในสหรัฐอเมริกาจากนโยบายแจกเงินช่วยพิษโควิด-19 ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน สังเกตว่าหุ้น GameStop ถูกปั่นในช่วงเวลาเดียวกันกับที่ประชาชนได้เงินช่วยเหลือพอดี ในห้วงเวลาที่คนกำลังตกงานไม่มีอะไรทำ แต่อยากหารายได้เสริมจึงผันตัวมาเป็นนักลงทุนรายวัน (Day Trade) เข้าไปเสพสื่อสังคมออนไลน์ที่ชื่อว่า Reddit แหล่งรวมผู้คลั่งไคล้โลกยุคดิจิทัล เมื่อกระแสเรื่องหุ้น GameStop ถูกจุดขึ้นมา ทุกคนต่างแห่กันเข้าไปตามกัน (Herding Behavior) เหตุการณ์นี้จึงคล้ายกับ Bitcoin ที่ถูกกล่าวถึงมากใน Reddit ก่อนหน้านี้จนทำให้ราคาเหรียญพุ่งทะลุ 1 ล้านบาท อย่าลืมว่ารัฐบาลมีโครงการจะเติมเงินเข้ามาอย่างต่อเนื่อง คาดว่าน่าจะยังมีเงินหมุนวนไปยังหุ้นตัวอื่น ๆ ต่อไป ขณะนี้เริ่มเห็นกระแสการปั่นหุ้นตัวอื่นที่มีสตอรี่คล้าย ๆ กันคืออนาคตริบหรี่ในยุคดิจิทัล เช่น หุ้นโรงหนัง AMC Entertainment Holdings, Inc. (AMC) ที่ถูกเนตฟลิกซ์เข้ามาเปลี่ยนโลกของการดูหนัง หรือ หุ้นของใช้ภายในบ้าน Bed Bath & Beyond (BBBY) โดนอเมซอนเปลี่ยนโลกการซื้อของแบบไม่ต้องเดินห้างอีกต่อไป

การลงทุนยุคดิจิทัล ทำให้ทุกอย่างง่าย(เกินไป)

อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีแรงซื้อมหาศาล คือได้นักลงทุนหน้าใหม่เข้ามาเติม และช่องทางหลักของปรากฏการณ์นี้คือ แอพเทรดหุ้น Robinhood จุดเด่นของแอพนี้คือการไม่คิดค่าธรรมเรียมการเทรดใด ๆ ทั้งสิ้น แต่จะไปเก็บค่านายหน้าจากบรรดาโบรกเกอร์แทน นั่นทำให้นักลงทุนหน้าใหม่ไม่มีต้นทุนในการเข้ามา ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ลูกค้าของ Robinhood กวาดซื้อหุ้นจำนวนมาก ทำให้ Clearinghouse กำหนดให้ Robinhood ต้องจ่ายเงินค่าหุ้นมากกว่าเดิมถึง 10 เท่า ผลคือ Robinhood ต้องระงับการซื้อหุ้นชั่วคราวเพราะมีเงินไม่พอ แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือ นักลงทุนที่ไม่มีความรู้ กระโดดเข้ามาในตลาดแบบไม่รู้อิโหน่อิเหน่ เข้ามาในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความซับซ้อนอย่างสัญญาซื้อขายล่วงหน้า แล้วใช้บัญชีมาร์จิน (Margin Account) โดยนักลงทุนจ่ายเงินซื้อเองส่วนหนึ่ง และกู้จากโบรกเกอร์มาอีกส่วนหนึ่ง หากเงินในพอร์ตลดต่ำลงจนโดนคอลมาร์จิ้นจะต้องเติมเงินเข้าไปทันที อาจถึงขึ้นต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อจ่ายในที่สุด

ดร. อริชัย ทิ้งท้ายว่า โลกการเงินการลงทุนยุคดิจิทัลเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ด้านหนึ่งคือโอกาสแต่อีกด้านคือพื้นที่ล่อเหยื่อให้เข้ามาบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นที่สถาบันการศึกษาต้องให้ข้อมูลอย่างรอบด้านและรวดเร็วที่สุด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสังคมไม่เสพสื่อด้านเดียวจากอัลกอรึธึมของโลกออนไลน์ เป็นที่มาของการเปิด Mini MBA - Digital Business Management (หลักสูตรการบริหารธุรกิจในยุคดิจิทัล รุ่นที่ 3) หลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น 2 เดือน สำหรับบุคคลทั่วไปที่ยังกลัวกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล มาเรียนพื้นฐานทั้ง 6 องค์ความรู้ รวมทั้งวิชา Digital Finance & Investment เล่าถึงกรณีศึกษาจริงทั่วโลกพร้อมนำทฤษฎีการเงินมาวิเคราะห์ และเรื่องอนาคตของการระดมทุน โดย คุณทอป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ร่วมก่อตั้ง Bitkub รวมทั้งคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล และ ผู้บริหารระดับสูงในบริษัทชั้นนำของไทยมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment