ธุรกิจ “ไทย”ต้องมาก่อน

ในวันที่ 20 เมษายน 2563 มีข่าวว่าผู้ประกอบการ 8 สายการบินในประเทศไทย ประกอบด้วย ไทยสมายล์ บางกอกแอร์เวย์ส นกแอร์ นกสกู๊ต แอร์เอเชีย แอร์เอเชียเอ็กซ์ ไลออนแอร์ และเวียดเจต จะขอเข้าพบนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อติดตามมาตรการช่วยเหลือธุรกิจการบิน

โดยเฉพาะประเด็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หรือ soft loan วงเงินประมาณ 24,000-25,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 2% เป็นระยะเวลา 60 เดือน เริ่มชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยในวันที่ 1 มกราคม 2564

ซึ่งข้อมูลการ 8 สายการบินขอวงเงินไว้ พอจะแยกออกเป็น สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส วงเงิน 3,000 ล้านบาท สายการบินไทยแอร์เอเชีย 4,500 ล้านบาท สายการบินไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ 3,000 ล้านบาท สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ 3,750 ล้านบาท สายการบินไทยเวียตเจ็ท 900 ล้านบาท 6.สายการบินไทยสมายล์ 1,500 ล้านบาท สายการบินนกสกู๊ต 3,500 ล้านบาท และ สายการบินนกแอร์ วงเงิน 4,000 ล้านบาท

เงินดังกล่าวสายการบินระบุว่าจะนำไปใช้จ่ายเงินเดือนพนักงาน ซึ่งมีประมาณ 2-3 หมื่นคน และเป็นสภาพคล่องหมุนเวียน ช่วงที่ต้องหยุดบิน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา (โควิด-19)

เมื่อได้รายละเอียดแล้ว ก็จะนำกลับไปประชุมหารือระหว่าง 8 สายการบินอีกครั้งในวันที่ 22 เม.ย. เพื่อออกแถลงการณ์มาตรการที่จะปฏิบัติต่อไปในอนาคต

ถือว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่รัฐบาลต้องพยายามหาช่องทาง เพื่อช่วยดูแลธุรกิจการบิน ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ โดยเฉพาะต่อภาคการท่องเที่ยว ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยมาโดยตลอด

ไม่ได้เพียงธุรกิจการบินเท่านั้น ยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากที่ยังได้รับผลกระทบ ซึ่งรัฐบาลก็พยายามหามาตรการออกมาช่วยดูแลและลดความเดือนร้อนของทุกภาคส่วนอย่างเต็มความสามารถ

แต่การที่รัฐบาลไม่ได้มีเงินถุงเงินถัง การหาเงินไม่ว่าจะจากงบประมาณ การการกู้เงิน เพื่อนำมาโอบอุ้มประชาชนทุกกลุ่ม ธุรกิจทุกกลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อน ให้อย่างเต็มที่คงเป็นเรื่องยาก

ดังนี้การที่รัฐบาลจะช่วยธุรกิจใด คงต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเป็นประโยชน์และส่งผลดีต่อประชาชนคนไทย ธุรกิจคนไทยให้ได้มากที่สุด

ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา การเปิดประเทศไทยให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนได้อย่างเสรีภายใต้กฎหมาย อุตสาหกรรมของคนไทยต้องเจอกับการแข่งขันที่มีความรุนแรงจากบริษัทต่างชาติที่มีเงินทุนหนากว่าธุรกิจไทย เข้ามาทุ่มตลาด ตัดราคา จนธุรกิจไทยประสบปัญหา มีความยากลำบากมากพอสมควร

ดังนั้นหากรัฐบาลจำเป็นต้องช่วยเหลือดูแลอุตสาหกรรมใดๆ เมื่อเกิดภาวะวิฤตและเมื่อเกิดภาวะวิกฤติ จะมีความเหมาะสมมากกว่าหรือไม่ หากรัฐบาลไทย สถาบันการเงินของรัฐ ที่จะพิจารณาให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือบริษัทไทยเป็นลำดับต้นๆ

แล้วควรหลีกเลี่ยงการจัดสรรเงินทุนที่มีอยู่อย่างจำกัดไปช่วยบริษัทต่างชาติให้กลับมาเติบโตเพื่อกลับมาทำร้ายบริษัทของคนไทยอีก

ซึ่งบริษัทต่างชาติที่ทำธุรกิจในเมืองไทยได้ประโยชน์มากมาย และส่งกลับประเทศของตัวเองอยู่แล้ว เมื่อมีปัญหาควรจะไปแสวงหาเงินทุนจากประเทศของตัวเองมาช่วยดูแลธุรกิจ มากกว่าที่จะมาขอเงินทุนที่มีอยู่จำกัดของประเทศไทยน่าจะเป็นเรื่องที่ดีกว่า

หรือใครว่าไม่จริง!!!


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment