SCG ร่วมมือ สภาวิศวกรยกระดับมาตรฐานวิศวกรไทย ก้าวไปสู่สากล

ธุรกิจ Cement and Construction Solution ในเอสซีจี ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ “สภาวิศวกร” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับมาตรฐานวิศวกรไทยให้มีความรู้ ความสามารถ อีกทั้งยังร่วมมือกันพัฒนาขีดความสามารถของวิศวกรไทยให้มีความพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุค New Normal พร้อมส่งเสริมคุณภาพการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม รองรับการเติบโตทางด้าน Construction Solution

นายชนะ ภูมี Vice President ธุรกิจ Cement and Construction Solution กล่าวว่า “CPAC และสภาวิศวกรมีข้อตกลงในการร่วมมือกันเพื่อยกระดับมาตรฐานวิศวกรไทยให้มีขีดความสามารถเทียบเท่าในระดับโลก ซึ่งในส่วนนี้เป็นนโยบายหลักของเอสซีจีมาโดยตลอด เราจะเข้าไปร่วมพัฒนาบุคลากร พร้อมปรับไปสู่ Construction Solution และใช้ CPAC BIM ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมทางด้านก่อสร้างของประเทศไทยให้เทียบเท่ากับสากล โดยจะเริ่มจากภายในองค์กรของเราก่อน เนื่องจาก CPAC มีวิศวกรหลักกว่า 500 คน ที่ให้บริการและเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้อยู่ จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะพัฒนาบุคลากรตรงจุดนี้ พร้อมยังจะเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงการพัฒนาความสามารถวิชาชีพวิศวกรในกลุ่มผู้ประกอบการ Ecosystem ของเรา ทั้งกลุ่มผู้รับเหมาขนาดกลางและเล็ก โดยจะเข้าไปร่วมมือกันให้ความรู้ ส่งเสริมและยกระดับวิชาชีพวิศวกรของกลุ่มผู้ประกอบการเหล่านี้ให้ได้รับรองอย่างถูกต้องต่อไป

ทางด้าน นายชูโชค ศิวะคุณากร Managing Director – CPAC กล่าวว่า เป้าหมายสำคัญในการยกระดับวิศวกรไทยในครั้งนี้ คือ การทำอย่างไรให้วิศวกรระดับภาคีวิศวกร สามารถเลื่อนขั้นเป็นระดับสามัญวิศวกร และนำไปสู่ระดับวุฒิวิศวกรในอนาคต โดยเรื่องแรกที่ให้ความสำคัญคือ การมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ซึ่งทางเอสซีจีจะผลักดันให้บุคลากรมีใบอนุญาตฯ ในระดับสามัญวิศวกร และวุฒิวิศวกร ได้ตามเป้าหมายภายในปี 2564 นอกจากนี้ผู้ที่จบการศึกษาในระดับอาชีวะ ยังสามารถสอบเลื่อนระดับเป็นวิศวกรแบบภาคีวิศวกรพิเศษ โดยจะช่วยยกระดับ เพิ่มขีดความสามารถของวิชาชีพวิศวกรไทยให้รองรับการขยายตัวของงานก่อสร้างและรูปแบบที่เป็น Construction Solution มากขึ้น

ในส่วนของสภาวิศวกร เป็นหน่วยงานที่เป็นตัวแทนของวิศวกรไทย ปัจจุบันมีสมาชิกร่วม 300,000 คน วัตถุประสงค์สำคัญของสภาวิศวกร คือ การสนับสนุนงานวิชาการและงานวิจัย ซึ่งปัจจุบันมีการแข่งขันด้านเทคโนโลยีกันอย่างรุนแรง แต่ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือแม้แต่ปัญหาสิ่งแวดล้อมก็จำเป็นต้องแก้ไขโดยเทคโนโลยี ด้วยเหตุนี้การพัฒนาอาชีพวิศวกรจึงมีผลกับทุกคน หากวิศวกรไทยเข้มแข็ง ก็สามารถพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีได้ และสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม มีรายได้กลับมาพัฒนาประเทศ สังคม และยังสามารถแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มากมาย

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร กล่าวว่า ความร่วมมือกับทาง บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด ที่เป็นบริษัทชั้นนำทางด้านเทคโนโลยีในการก่อสร้างของประเทศไทย ซึ่งวัสดุก่อสร้างในปัจจุบันผู้ใช้งานคาดหวังให้มีความทนทาน ใช้งานได้ดี และมีความสวยงาม จึงต้องใช้เทคโนโลยีนวัตกรรม ถือเป็นจุดกำเนิดที่มีจุดประสงค์ร่วมกันระหว่างสององค์กรใหญ่ ซึ่งเอสซีจีเองก็เป็นหน่วยงานที่ให้ความสำคัญในด้านนวัตกรรม ตรงนี้จะสามารถถ่ายโอนความรู้ และยังร่วมมือกันส่งสัญญาณไปถึงคณะวิศวกรรมทั่วประเทศ ว่าวันนี้เจ้าของผลิตภัณฑ์เขากำลังมองการตลาดอย่างไร วันนี้สภาวิศวกรมีนโยบายสำคัญในการสร้างวิชาชีพนี้ให้ไปไกลแค่ไหน เราจะร่วมมือกันเพื่อยกระดับวิศวกรที่กำลังจะจบออกไปจากมหาวิทยาลัยด้วย”

การแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือ คือ การชดเชยด้วยนวัตกรรมของวัสดุ การร่วมมือของสภาวิศวกรและ บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด จึงมีผลต่อการสร้างวิศวกรรุ่นใหม่เป็นอย่างมาก โดยสภาวิศวกรจะมีบทบาทสำคัญ คือ การดึงเอาภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม เข้ามาให้ข้อมูลความรู้ และความร่วมมือ เพื่อโน้มน้าวให้มหาวิทยาลัยผลิตบัณฑิตได้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและความเปลี่ยนแปลงของโลก


COMMENTS

{{ errors.name }}

{{ errors.value }}

{{c.name}} {{moment(c.created_at,"YYYY-MM-DD HH:mm:ss").toNow()}}
{{c.value}}

RELATED TOPICS

Please wait a moment